Monday, August 5, 2013

แนวคิดของกลุ่มโครงสร้างของจิต  
(Structuralism)
              กลุ่มโครงสร้างของจิตใช้คำในภาษาอังกฤษว่า  Introspective  Psychology  หรือบางทีเรียกกลุ่มโครงสร้างนิยม หรือ กลุ่มแนวความคิดโครงสร้าง  หรือ  แนวทัศนะโครงสร้างแห่งจิต  ซึ่งมีชื่อเรียกหลายชื่อแต่ในที่นี้จะเรียกชื่อว่า กลุ่มโครงสร้างของจิต ซึ่งเกิดขึ้นในประเทศเยอรมัน เมื่อ  ค.ศ.1879 มีรากฐานของแนวความคิดพื้นฐานเบื้องต้นจากแนวความคิดของนักปรัชญา คนสำคัญๆ หลายท่าน  เช่น

               แนวความคิดของพลาโต  (Plato) อธิบายว่า มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์ตรงที่มนุษย์ประกอบด้วยจิต  (mind)  ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างแนวความคิด  (Idea)

เพลโต
               แนวความคิดของอริสโตเติล(Aristotle)  อธิบายเกี่ยวกับเรื่องชีวิตจิตใจ  (Mental  Life)            

อริสโตเติล

               แนวความคิดของ เดสคาร์ทีส(Descartes) อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ของร่างกาย(Body) กับจิต  (Mind)  ว่ามนุษย์ประกอบขึ้นด้วย ร่างกายและจิต  ทั้งสองส่วนนี้จะทำงานเกี่ยวข้องกันโดย  จิตทำหน้าที่สร้างภาพพจน์จากการทำงานของร่างกาย การทำงานของร่างกายจึงเป็นการทำงานตามแนวความคิดที่เกิดขึ้นในจิตนั่นเอง จากแนวความคิดทั้งสามท่านทำให้เกิด  ลัทธิสัมพันธ์นิยม  ( Associations )  ขึ้น  และต่อมาได้พัฒนากลายเป็นกลุ่มจิตวิทยา Structuralism หรือเรียกกันอีกอย่างว่า “แนวคิดการตรวจสอบตนเอง”  (Introspections)  เนื่องจากนักจิตวิทยากลุ่มนี้ใช้ การตรวจสอบตนเอง( Introspection )  ตำราบางเล่มใช้คำว่าวิธีการพินิจภายในให้นักศึกษาดูคำในภาษาอังกฤษเป็นหลัก   การตรวจสอบตนเองเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าเพื่อเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ที่ผิดปกติ และด้วยเหตุนี้เองกลุ่มโครงสร้างของจิตนี้จึงถูกโจมตีมาก และดูไม่น่าเชื่อถือเพราะเมื่อบุคคลมีปัญหา บุคคลจะมานั่งตรวจสอบตนเองหรือสำรวจตนเองว่าตนมีข้อบกพร่องอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ คงเป็นไปได้อยาก มีหลายคนที่ใช้วิธีการนี้อาจจะเข้าข้างตนเองจึงทำให้ไม่เห็นปัญหาที่แท้ จริง 

               ในเวลาต่อมามีนักจิตวิทยาที่สนใจศาสตร์ทางด้านจิตวิทยาและได้สร้างห้องทดลอง ทางจิตวิทยาขึ้นเขาคือ วิลเฮล์ม  แมกซ์  วู้นท์  (Wilhelm  Max  Wundt)  ผู้ให้กำเนิดห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลองทางจิตวิทยา  (Psychological  Laboratory)  เป็นแห่งแรก  และเขาได้ฉายาว่าเป็น  “บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง”  ต่อมามีนักจิตวิทยาชื่อ กัสแตฟ   เฟชเนอร์  ( Gustav  Fechner )  ได้สนใจวิธีการทางจิตวิทยา และได้เป็นผู้กำหนดระเบียบและวิธีการทดลองทางจิตวิทยา (Experimental method) มาใช้กับงานทางจิตวิทยา เขาได้นำเอาความรู้ความเข้าใจวิชาฟิสิกส์มาใช้ในการทดลองค้นคว้ากับวิชา จิตวิทยาซึ่งเรียกว่าไซโคฟิสิกส์  (Psychophysics)  แต่อย่างไรก็ตามจิตวิทยากลุ่มนี้ก็ยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิทยา ศาสตร์อย่างสมบูรณ์นัก  เพียงแต่ยอมรับกันว่าเป็นกลุ่มแรกที่มีแนวคิดเป็นวิทยาศาสตร์และยังถือว่า เป็นกลุ่มจิตวิทยาที่อาศัยแนวความคิดและระเบียบวิธีการศึกษาตามแบบปรัชญา  (Philosophical-Psychology) อยู่เพราะแนวความคิดส่วนใหญ่ของกลุ่มโครงสร้างทางจิต (Structuralism)  ได้อาศัยระเบียบวิธีการตรวจสอบตนเองหรือการสำรวจตนเองหรือ ( Introspection  method ) หรือระเบียบวิธีการแบบอัตนัย  ( Subjective  method ) 

               การใช้วิธีตรวจสอบตนเองหรือการสำรวจตนหรือการพินิจภายใน  เป็นเครื่องมือที่ศึกษาค้นคว้าหาความจริงทางจิตวิทยาไม่สู้จะได้ผลดีนัก     เพราะว่าผู้ถูกทดสอบอาจตอบตามสิ่งเร้ามากกว่าตอบตามความรู้สึกที่ตนได้ สัมผัสจริงๆ  ซึ่งเรียกวิธีนี้ว่า   Stimulus  -  Error   แต่กลุ่ม  Gestalt  Psychology  ไม่เห็นด้วยกับกลุ่ม  Structuralism  ที่ว่าจิตประกอบด้วยส่วนต่างๆ จึงให้ชื่อกลุ่มนี้ว่ากลุ่ม  Mortar  &  Brick  Psychologist  ซึ่ง  Mortar  แปลว่า  ซีเมนต์ที่ผสมกับทรายได้ส่วนสัดแล้ว  Brick  หมายถึง อิฐ  พวกเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็นตึกเหมือนจิตประกอบขึ้นจากส่วนต่าง ๆ

               Wilhelm Max  Wundt   ผู้นำกลุ่ม  Structuralism  ได้นำเอาแบบของวิชาเคมีมาใช้ในวิชาจิตวิทยาและพยายามนำแนวคิดของนักเคมีซึ่ง เน้นหนักในเรื่อง “องค์ประกอบของจิต”   เทียบกับองค์ประกอบของธาตุต่างๆ ของเคมี เช่น ส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสาร ซึ่งในเมื่อมวลสารทั้งหลายสามารถนำมาวิเคราะห์ออกได้เป็นอนุภาคที่เล็กมากจน เรามองไม่เห็น ดังนั้นจิตของคนนั้นก็น่าจะแยกให้เห็นจริงๆ ได้เช่นกันและเขามีแนวคิดว่า  จิต (mind)  มีองค์ประกอบอิสระต่าง ๆ  รวมกันเป็นโครงสร้างแห่งจิต  (Faculty  of  mind)  จิตมีโครงสร้างที่มาจากองค์ประกอบทางเคมี  โดยมีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกันมารวมกันเป็นจิต เรียกว่า  “จิตธาตุ” ( Mental  Elements )  นั่นคือนักจิตวิทยาพยายามที่จะค้นให้พบว่า จิต  (mind)  ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  หัวข้อสำคัญที่จิตวิทยากลุ่มนี้  มุ่งศึกษาอย่างแท้จริงคือ องค์ประกอบที่สำคัญของจิตในส่วนที่เรียกว่า จิตสำนึก (The Contents of  Consciousness)  โดยเฉพาะเท่านั้น  ดังนั้นกลุ่ม  Structuralism  จึงจัดอยู่ในกลุ่มจิตวิทยา ที่เรียกว่ากลุ่มจิตนิยม  ( Mentalism )  นี้ด้วย

             ความเชื่อที่สำคัญเบื้องต้น  (Basic assumption)ของกลุ่มโครงสร้างทางจิต
                ความเชื่อที่สำคัญเบื้องต้นที่เป็นมูลเหตุให้นักจิตวิทยากลุ่ม Structuralism  มีความสนใจมุ่งศึกษาเรื่องจิตธาตุ  คือ เชื่อว่ามนุษย์ประกอบด้วยสองส่วนคือ  ร่างกาย  (body)  และจิตใจ(mind)  ซึ่งทั้งร่างกายและจิตใจต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ต่างก็ทำงานสัมพันธ์กัน  ดังนั้นพฤติกรรม(Behavior)  ของบุคคลจึงเกิดจากการกระทำของร่างกาย  ซึ่งการกระทำของร่างกายนั้นย่อมเกิดจากการควบคุมและสั่งการของจิตใจนั่นเอง  แนวความคิดนี้เกิดจากเรื่องจิตธาตุนั่นเองแต่เนื่องจากจิตวิทยากลุ่ม  Structuralism  ได้พยายามแยกองค์ประกอบของจิตหรือจิตธาตุออกมาพิจารณาเป็นส่วนย่อยๆ บางครั้ง นักจิตวิทยาทั่วๆ ไป จึงเรียกกลุ่มนี้อีกอย่างว่า “จิตวิทยาที่ว่าด้วยองค์ประกอบของจิต”  ( Faculty  Psychology )

              แนวคิดกลุ่มโครงสร้างของจิต
               กลุ่มโครงสร้างของจิตเชื่อว่าโครงสร้างของจิตประกอบด้วย จิตธาตุ (Mental  Elements)  ซึ่งจิตธาตุประกอบด้วยธาตุ  3  ชนิด  คือ  1. การรับสัมผัส  (Sensation)  2. ความรู้สึก  (Feeling)  (ภายหลังนักจิตวิทยาชื่อ  Titchener  ได้เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างคือ จินตนาการ) 3. จินตนาการหรือมโนภาพ (Image)  เมื่อจิตธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้มาสัมพันธ์กันภายใต้สถานการณ์แวดล้อมที่เหมาะสมก็จะก่อให้เกิดรูปจิต ผสมขึ้นและจิตผสมนี้เองทำให้บุคคลเกิด ความคิด(Thinking) อารมณ์ (Emotion) ความจำ  (Memory)และการหาเหตุผลหรือสาเหตุ  (Reasoning)   และอื่นๆ เป็นต้น โดยเป็นแบบเดียวกันกับทางเคมีที่โฮโดรเจนเมื่อรวมตัวกับออกซิเจนภายใต้สัด ส่วนที่เหมาะสมและความกดดันที่พอดีก็จะได้เป็นน้ำนั่นเอง

   แนวคิดจิตวิทยากลุ่มโครงสร้างของจิต(Structuralism) มีอิทธิพลและบทบาทสำคัญคือ 

               1.  ความเชื่อในเรื่ององค์ประกอบของบุคคลซึ่งนักจิตวิทยายอมรับว่าบุคคลประกอบ ด้วยร่างกายและจิตใจ  โดยจิตใจยังแบ่งย่อยๆ ได้  เช่น  ส่วนที่เกี่ยวกับการคิด  ส่วนที่เกี่ยวกับความจำส่วนที่เกี่ยวกับความรักสวยรักงาม  เป็นต้น 
               2.  การยอมรับเอาระเบียบวิธีการที่ว่าด้วย การแยกจิตออกฝึกเป็นส่วน ๆ  (Method  of  Mental  of  Formal  Discipline)  สามารถนำมาใช้ในการจัดการศึกษา นักการศึกษาเชื่อว่าบุคคลมีลักษณะอย่างเดียวกับวัตถุ (Material)  หรือเครื่องจักรกลหากต้องการฝึกจิตธาตุส่วนใดให้มีความสามารถต้องฝึกฝน เรื่องนั้นๆ โดยเฉพาะเช่น  การฝึกทักษะด้านความจำบุคคลก็ต้องฝึกให้ท่องจำ ด้านการคิดต้องให้เรียนวิชาที่ส่งเสริมการคิดต่างๆ ได้แก่  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์เป็นต้น  ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ว่าจิตของคนเราแยกออกเป็นส่วนๆ  ดังนั้นถ้าต้องการให้ส่วนไหนมีความสามารถ มีทักษะทางใดก็ต้องมุ่งฝึกส่วนนั้นมากเป็นพิเศษบุคคลก็จะมีความชำนาญด้าน นั้นๆ ตามที่ต้องการ อย่างในปัจจุบันมีการฝึกคณิตคิดเร็วใช้ชื่อเรียกต่างกันเช่น จินตคณิต เป็นต้น      


สืบค้นโดย นายอนุวงศ์ อารีศิริไพศาล
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย

No comments:

Post a Comment