แนวคิด กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล (Gestalt Psychology)
กลุ่มจิตวิทยาเกสตอล แนวความคิดกลุ่มนี้ เกิดในประเทศเยอรมันนีราวปี ค.ศ. 1912 คำว่า Gestalt เป็นภาษาของเยอรมัน แปลว่า “โครงรูปแห่งการรวมหน่วย” ผู้นำของกลุ่มนี้ คือ แมกซ์ เวิทโฮเมอร์ ( Max Wertheimer 1880 – 1943 ) และมีผู้ร่วมงานคือ เคิท คอฟก้า ( Kurt Koffka 1886 – 1941 ) วูล์ฟแกง เคอเลอร์ ( Wolfkang Kohler ) ภายหลังบุคคลเหล่านี้ได้อพยพมาอยู่ในอเมริกา แนวความคิดที่สำคัญของนักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ การพิจารณา พฤติกรรมหรือประสบการณ์ของคนเป็นส่วนรวมซึ่งส่วนรวมนั้นมีค่ามากกว่าผลบวก ของส่วนย่อย ๆ ต่าง ๆ มารวมกัน เช่น คนนั้นมีค่ามากกว่าผลบวกของส่วนย่อยต่าง ๆ เช่น แขน ขา ลำตัว สมอง เป็นต้น
วูล์ฟแกง เคอเลอร์
แนวคิดของกลุ่มนี้เชื่อว่า ในด้านการรับรู้ของบุคคลนั้นบุคคลจะลักษณะในรูปของการรับรู้ในส่วนรวม (The whole) เช่น สนามหญ้าเรามองเห็นเป็นสนาม เพราะเราไม่มองต้นหญ้าแต่ละต้นที่มาอยู่รวมกัน แต่เรามองพื้นที่และรูปร่างทั้งหมด
คำว่าเกสตอล (Gestalt) มาจากภาษาเยอรมัน ซึ่งหมายถึงส่วนร่วมทั้งหมดกลุ่มนี้มีแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดได้จากการจัดสิ่งเร้าต่าง ๆ มารวมกัน เริ่มต้นด้วยการรับรู้โดยส่วนรวมก่อน แล้วจึงจะสามารถแยกวิเคราะห์เรื่องราวเรียนรู้ส่วนย่อยที่ละส่วนต่อไป (Field Theory) และยังคงใช้หลักการเดียวกัน นั่นก็คือ การเรียนรู้ของบุคคลจะเป็นไปได้ด้วยดีและสร้างสรรค์ถ้าเขาได้มีโอกาสเห็น ภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่จะเรียนเสียก่อนเมื่อเกิดภาพรวมทั้งหมดแล้ว ก็เป็นการง่ายที่บุคคลนั้นจะเรียนสิ่งที่ละเอียดปลีกย่อยต่อไป
แมกซ์ เวิทโฮเมอร์ (Max Wertheimer) และมีผู้ร่วมงานคือ เคิท คอฟก้า (Kurt Koffka) วูล์ฟแกงเคอเลอร์ (Wolfkang Kohler)ได้คิดค้นไฟฟ้าที่อยู่นิ่งๆ ดูเหมือนเคลื่อนไหวได้วิธีการของเขาคือเปิดหลอดไฟฟ้าไว้ 3 ดวง หลอดไฟ 2 ดวงเปิดไว้ตลอดเวลาแต่อีกดวงหนึ่งเปิดและเปิดในเวลาห่างกันเล็กน้อยทำเช่น นี้ซ้ำๆ ภาวะการณ์นี้ทำให้เราเห็นเหมือนไฟฟ้าเคลื่อนไหวได้เรียกว่าPhi phenomenon (ปัจจุบันนี้เรียกว่า apparent motion)จีราภา เต็งไตรรัตน์(2547: 16)
แมกซ์ เวิทโฮเมอร์
ปัจจุบันได้มีผู้นำเอาวิธีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์มาใช้อย่างกว้าง ขวางโดยเหตุที่เชื่อในผลการศึกษาค้นคว้าที่พบว่า ถ้าให้เยาวชนได้เรียนรู้โดยหลักของเกสตอลแล้ว เด็กเหล่านี้จะมีสติปัญญาและความคิดสร้างสรรค์และความรวดเร็วในการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น หลักสำคัญของการเรียนรู้ของแนวคิดจิตเกสตอล ประกอบด้วย การรับรู้และการหยั่งเห็น ดังอธิบายคือ
1. การรับรู้ ( Perception ) หมายถึง การแปลความหมายหรือการตีความจากสิ่งเร้าที่สัมผัส การรับรู้นี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.1 ภาพ ( Figure ) หมายถึง ส่วนสำคัญที่ต้องการเน้นให้เกิดการรับรู้
พื้น ( Ground ) หมายถึง ส่วนประกอบที่ทำให้ภาพชัดเจน
ต่อมาในระยะหลังแนวคิดจิตวิทยาเกสตอลจัดเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อ จิตวิทยาหลายสาขา เช่น จิตวิทยาการบำบัด จะใช้แนวคิดของจิตวิทยาเกสตอลเป็นอย่างมาก วิธีการที่ใช้คือ คือ การสังเกตแบบปรากฏการณ์ หรือเรียกว่า Phenomenology เป็นการพิจารณาจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติที่ปรากฏให้เราเห็น อย่างไรก็ดีแนวคิดจิตวิทยาเกสตอลสนใจเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมมนุษย์จะศึกษามนุษย์ทั้งหมดที่เป็นตัวเขา
2. การหยั่งรู้ (Insight) หมายถึง การเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้โดยการตระหนักรู้ด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด สามารถมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการซึ่งความสามารถ ในการหยั่งรู้ของบุคคลขึ้นอยู่ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนซึ่งมีลักษณะใกล้ เคียงกับปัญหาที่ต้องขบคิดนั้น
2. การหยั่งรู้ (Insight) หมายถึง การเรียนรู้หรือแก้ปัญหาได้โดยการตระหนักรู้ด้วยตนเองอย่างทันทีทันใด สามารถมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการซึ่งความสามารถ ในการหยั่งรู้ของบุคคลขึ้นอยู่ประสบการณ์ที่เคยมีมาก่อนซึ่งมีลักษณะใกล้ เคียงกับปัญหาที่ต้องขบคิดนั้น
สืบค้นโดย นางสาวอัจฉรา ชูบรรจง
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
No comments:
Post a Comment