แนวคิดกลุ่มมนุษยนิยม ( Humanism )
กลุ่มมนุษยนิยมมีผู้นำที่สำคัญในกลุ่มคือ คาร์ล อาร์ โรเจอร์ส (Carl R. Rogers) และ
ความเชื่อเบื้องต้น ของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)คือ
1. เชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทหนึ่งที่มีจิตใจ มีความต้องการความรัก มีความต้องการความอบอุ่น มีความเข้าใจ มีความสามารถเฉพาะตัว มีขีดจำกัด ไม่สามารถจะเสกสรรปั้นแต่งให้เป็นอะไรก็ได้ตามใจชอบและมนุษย์มีความดีงามติด ตัวมาแต่กำเนิด ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวคิดแตกต่างจากกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่เห็นว่าเราสามารถกำหนด พฤติกรรมของมนุษย์ด้วยกันได้
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง ( Self actualization ) และยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง แนวความคิดจากกลุ่มนี้ เป็นที่ยอมรับและใช้เป็นหลักในบริการแนะแนว ( Guidance service ) และยังนำหลักการไปปรับใช้ในด้านการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรเน้นให้นักเรียนรู้จักเสาะแสวงหาความรู้ตนเองให้มีอิสระ เสรี ในเรื่องการพูด คิด ทำ สามารถจะสนองความต้องการและความสนใจ ในการสอนก็ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมทุกอย่างถือว่าเด็กเป็นศูนย์กลาง ครูเป็นเพียงผู้ให้บริการและประสานงานแนวคิดของกลุ่มมนุษย์นิยมเป็นปัจจัย สำคัญกำหนดบทบาท ท่าที บุคลิกภาพของครูให้วางตัวเป็นตนเองกับเด็ก มีสัมพันธภาพที่ดีต่อเด็ก
3. มีความเชื่อว่า ในเมื่อมนุษย์เราทุกคนต่างก็เข้าใจผู้อื่น และยอมรับตนเองอยู่แล้วต่างคนก็มุ่งสร้างย่อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตน เอง
4. เนื่องจากมนุษย์เราแต่ละคนต่างพยายามปรับปรุงตนเอง ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ฉะนั้นควรจะให้คนมีสิทธิ์อิสระที่จะเลือกกระทำ เลือกประสบการณ์ของตนเอง กำหนดความต้องการของ ตนเอง ตัดสินใจใด ๆ ด้วยตนเอง
5. มีความเห็นว่า วิธีการค้นคว้าเสาะแสวงหาความรู้หรือข้อเท็จจริงต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญนำความรู้และข้อเท็จจริง เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตัวของความรู้หรือตัวข้อเท็จจริงเองที่ตายตัว ฉะนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่ออนาคตของผู้เรียนมากที่สุดก็คือกรรมวิธีในการ เสาะแสวงหาความรู้ จิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ ต่างก็มีบทบาทในการศึกษา เพื่ออธิบายพฤติกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพขึ้นแต่อย่าเข้าใจว่าลำพังวิชาจิตวิทยา อย่างเดียวจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ได้แจ่มแจ้ง วิชาจิตวิทยาเป็นเพียงกฎเกณฑ์พื้นฐาน เป็นรากฐานในการที่จะศึกษาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การแนะแนว การวัดผล เป็นต้น
สืบค้นโดย นายอนุวงศ์ อารีศิริไพศาล
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
No comments:
Post a Comment