Monday, August 5, 2013

องค์ประกอบของโรงเรียนที่ดี
( Eleven factors for effective schools )

                                                                                                                รองศาสตราจารย์สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์
                                                                                                                สถาบันราชภัฏเชียงราย

                องค์ประกอบ 11 ประการของโรงเรียนที่ดี (Eleven  factors  for  effective  schools)
                               
1.              มีผู้นำมืออาชีพ
       (Professional leadership)
-รอบรู้และยึดมั่นในวัตถุประสงค์
-ใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกด้าน
-เป็นผู้นำวิชาชีพที่ทรงความรู้และคุณธรรม
2.              มีวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วม
       (Shared vision and goals)
-มีวัตถุประสงค์เดียวกันของทุกฝ่าย
-มุ่งมั่น คงเส้นคงวาในการทำงานอย่างเชิงรุก
-เน้นทำงานแบบกัลยาณมิตรและการร่วมมือร่วมใจกัน
(Collegiality and collaboration)
3.              มีสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ที่ดี
(A learning environment)
-มีบรรยากาศน่าอยู่ น่าเรียนรู้และประเทืองปัญญา
-มีบรรยากาศของการทำงานที่ดี
4.              มุ่งเน้นการสอนและการเรียนรู้
(Concentration on teaching and
learning)
-กำหนดเวลาเรียนต่อปีสูงและใช้เวลาอย่างมีคุณภาพ
-เน้นงานด้านวิชาการ
-เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
5.              ทำการสอนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
(Purposeful teaching)
-เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงด้านการสอน/ การเรียนรู้
-มีวัตถุประสงค์ที่แจ่มชัด
-วัตถุประสงค์ของการสอนที่ยืดหยุ่นได้ดี
-จัดรูปแบบของบทเรียนได้ดี
6.              มีการตั้งความคาดหวังไว้สูง
       (High expectations)
-คาดหวังสูงในทุกเรื่อง
-มีการสื่อสารความคาดหวังให้ทุกคนทราบ
-สร้างความท้าทายทางปัญญาแก่นักเรียน ครูและบุคลากร
7.              ใช้การเสริมแรงเชิงบวก
        (Positive reinforcement)
-ยึดหลักความยุติธรรมและชัดเจนตรวจสอบได้
-มีระบบข้อมูลย้อนกลับให้ทราบผล
8.              มีการติดตามความก้าวหน้า
       (Monitoring progress)
-ติดตาม / ตรวจสอบความก้าวหน้าและผลการเรียนของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
-ตรวจสอบ / ประเมินผลงานของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ

9.              นักเรียนตระหนักในสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง
(Pupil rights and responsibilities)
-พัฒนานักเรียนให้รู้จักการเคารพตนเอง(Self-esteem)
-สร้างนักเรียนให้เป็นผู้รู้หน้าที่และความรับผิดชอบ
-นักเรียนสามารถควบคุมตนเองและการทำงานอิสระด้วยตนเอง
10.       มีความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบ้านและโรงเรียน
       (Home-school partnership)
-ผู้ปกครองเอาใจใส่และเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุน ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

11.       เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
(A learning organization)
-กระตุ้นการเรียนรู้ตลอดเวลาของสมาชิกทุกคนของ      โรงเรียน ทุกคนทำตัวเป็นผู้เรียน (Learners)
-ใช้โรงเรียนเป็นฐานการพัฒนาครู อาจารย์
-ทำให้โรงเรียนเองเป็นองค์กรที่ปรับตัวและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเช่นกัน

                ที่มา : ปรับปรุงจาก Simons et. al. 1995 : 3, In Law, S. & Olover Direk, G. Educational Leadership and Learning.  p. 149.
ค้นหาบทความโดย นางสาวอัจฉรา ชูบรรจง

No comments:

Post a Comment