แนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต ( Functionalism )
กลุ่มหน้าที่ของจิตเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1900 ผู้ให้กำเนิดหรือผู้นำกลุ่มหน้าที่ของจิตคือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey. 1859 – 1952) ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิชาการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยชิกคาโก วิลเลี่ยม เจมส์ (William James. 1842 – 1910) ศาสตราจารย์จิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และวิลเลี่ยม เจมส์ ได้เขียนตำราจิตวิทยาเล่มแรกของโลกชื่อ Principles of Psychology นอกจากนี้ยังมีนักจิตวิทยาคนสำคัญอื่นๆ อีก เช่น วูดเวอร์ธ (Woodworth) และเจมส์ แองเกลล์ (James Angell)
จอห์น ดิวอี้
จิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวความคิดมาจาก ลัทธิปรัชญากลุ่มปฏิบัตินิยม (Pragmatism) และทฤษฎีที่สำคัญทางชีววิทยา อันได้แก่ ทฤษฎีที่ว่าด้วยวิวัฒนาการ (Theory of Evolution) ของ Charles Darwin ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ Origin of Species เมื่อ ค.ศ. 1859 ดังนั้นกลุ่มFunctionalism จึงเกิดจากการรวมกันระหว่างทฤษฎีของดาร์วิน (Darwinian theory) กับลัทธิ ปรัชญาที่เน้นความสำคัญของการปฏิบัติจริง (Pragmatic Philosophy) โดยที่ทฤษฎีวิวัฒนาการอธิบายว่าสัตว์ที่ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ จะต้องต่อสู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่มันอยู่เพื่อให้ ชีวิตดำรงอยู่ได้ นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเห็นว่า ในการที่จะทำความเข้าใจให้เข้าใจถึงการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ได้ ควรต้องศึกษาถึงหน้าที่ของจิตต่อการปรับตัวภายใต้จิตสำนึกมากกว่าและกลุ่ม Functionalism สนใจเรื่องพฤติกรรมมาก เรื่องที่เขาเน้นหนักจริงๆ ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีแนวคิดมุ่งหนักไปในด้านหน้าที่ของจิตที่เรียกว่า the functions หน้าที่ของจิตจึงสำคัญกว่าจะศึกษาองค์ประกอบโครงสร้างของจิต แต่สนใจว่าจิตทำหน้าทีอะไร ทำอย่างไรจึงจะศึกษาทั้งกระบวนการทางจิตและสถานะของจิตพร้อมกับอากัปกิริยา ที่แสดงออกให้ปรากฏทางกาย กล่าวคือในการศึกษาพฤติกรรมนั้นจะสนใจศึกษาทั้งอากัปกิริยาที่แสดงออกภายนอก และความรู้สึกภายใน กระบวนการปรับตัวของร่างกายให้เหมาะกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเชื่อว่าสัญชาติญาณทำให้จิตมีหน้าที่ควบคุมการกระทำกิจกรรม ต่างๆ ของร่างกาย คำว่า “จิต”ตามความคิดของกลุ่มFunctionalism นั้นก็คือกระบวนการกระทำกิจกรรมของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อมนั้นเอง และวิชาจิตวิทยานั่นก็คือ วิชาที่ศึกษาถึงสถานะของจิตและในขณะเดียวกันการที่จะศึกษาแต่จิตและกระบวน การปรับตัวของจิตแต่อย่างเดียวยังไม่พอเพียงเราจะต้องศึกษาถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งประกอบ ด้วยเรื่องสัญชาติญาณ (Instinct) ซึ่งนับเป็นหลักใหญ่ของพวก Functionalism นี้ด้วย ผู้ที่จะมีความสุขในสังคมได้ก็จะต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้เป็น อย่างดี และบุคคลจึงควรตระหนักถึงหลักสำคัญเรื่องการปรับตัวของร่างกายให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อม กลุ่มนี้มีความเห็นว่า การศึกษาจิตวิทยานั้น ควรศึกษาจิตสำนึกในลักษณะของการใช้ประโยชน์ นั่นคือ ศึกษาจิตในรูปของการกระทำกิจกรรมต่างๆ ในอันที่จะทำให้มนุษย์ปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คนปรับตัวดีขึ้นจะเห็นว่าลักษณะสำคัญของ กลุ่ม Functionalism มีส่วนคล้ายกับกลุ่ม Structuralism อยู่ 2 ประการคือ ทั้ง 2 กลุ่มต่างก็เป็นจิตวิทยาในกลุ่มจิตนิยม (Mentalism) และอาศัยระเบียบวิธีทางปรัชญา (Philosophical Psychology) เช่นเดียวกัน และต่างมุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สำนึก ( Consciousness ) เช่นกัน
ส่วนที่แตกต่างกันคือกลุ่ม Structuralism มีความสนใจมุ่งศึกษาให้เข้าใจส่วนประกอบของจิตหรือจิตธาตุ ส่วนกลุ่ม Functionalism มุ่งศึกษาให้เข้าใจหน้าที่ของจิตกระบวนการทางสมอง เช่น การนึก การคิด เป็นหน้าที่ของจิตที่บัญชาให้บุคคลปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเข้ากับตน เป็นต้นว่าบุคคลสวมเสื้อผ้าเพราะจิตสั่งให้สวมเพื่อความอบอุ่นและเข้ากับ สภาพสังคม นั่นคือ เป็นหน้าที่หรือ Function ของมนุษย์ที่จะต้องทำ สิ่งที่บังคับให้ทำก็คือความต้องการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตน จึงพอสรุปหน้าที่ของจิตได้ว่า “จิตมีหน้าที่ในการควบคุมกระบวนการกระทำกิจกรรมต่างๆ ของร่างกายในอันที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม Dewey เชื่อว่า การคิดของมนุษย์มุ่งเพื่อการแก้ปัญหา เพื่อลดความเครียดและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นถึงแม้ว่า William James (1842–1910) เชื่อว่า สัญชาตญาณ (Instinct) เป็นลักษณะหรือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ดีแนวคิดนี้นักจิตวิทยาชื่อ John Dewey (1859 – 1952) เชื่อว่าประสบการณ์ (Experience) เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ต่อมา R.S. Woodworth ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง เราอาจสรุปแนวความคิดของกลุ่มหน้าที่นิยมหรือ Functionalism ได้ว่ามี 2 ประการคือ
1. การกระทำทั้งหมด ( The total activities ) หรือการแสดงออกของคนเราเป็นการแสดงออกเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการศึกษาจิตใจคน ก็ต้องศึกษาการแสดงออกของเขาในสถานการณ์นั้น ๆ
2. การกระทำหรือการแสดงออกทั้งหมดขึ้นอยู่หรือเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแต่ละ คน (The experience individual) เสมอ พฤติกรรมของคนจึงแตกต่างกัน
นักจิตวิทยากลุ่มนี้จึงมุ่งศึกษาวิธีการเรียนรู้ การจูงใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนความจำของคนเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
แนวคิดของกลุ่ม Functionalism มีอิทธิพลมากต่อวงการศึกษาปัจจุบัน เนื่องจากความ มุ่งหมายของการศึกษาประการหนึ่งก็คือ เพื่อให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยความผาสุกและ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นบุคคลต้องศึกษาเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับสังคม การอบรมเลี้ยงดู (Socialization) และการปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ เป็นปรัชญาการศึกษาซึ่งได้กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่สำคัญว่า“การ ศึกษาคือปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” วิธีการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์มากที่สุดจึงจะทำให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
สืบค้นโดยนางสาวอัจฉรา ชูบรรจง
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
No comments:
Post a Comment