งานวิจัยเกี่ยวกับงานการบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภท
มีผู้ทำการวิจัยเกี่ยวกับงานการบริหารการศึกษาทั้ง 5 ประเภทนี้ไว้มากพอสมควร จึงขอนำมายกตัวอย่างไว้ดังนี้
จากการวิจัยเรื่อง “ปัญหาการบริหารงานในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานที่รับนักเรียนชาวเขา สังกัดสำนักการประถมศึกษาจังหวัด :
การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดน่าน” ของ กุลเชษฐ์ แก้ววี
พบว่า
โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาที่รับนักเรียนชาวเขา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน มีปัญหาการบริหารงานทั้ง 6 ด้าน ปัญหาที่มีผู้ระบุไว้สูงสุดและรองลงมา 2
อันดับ มีดังนี้
1) ปัญหาการบริหารงานวิชาการ
ได้แก่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำ สื่อไม่เพียงพอและได้รับช้า และการจัดการเรียนการสอนทำได้ไม่เต็มที่
กับหนังสือเรียนได้รับช้า
2) ปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียน ได้แก่
นักเรียนออกกลางคัน นักเรียนขาดเรียน
และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
3) ปัญหาการบริหารงานบุคลากร ได้แก่ขาดครูในภาพรวม ขาดแคลนครูบางสาขา และครูขาดความมั่นใจในการสอน
4) ปัญหาการบริหารงานธุรการและการเงิน ได้แก่
ได้รับครุภัณฑ์ล่าช้า ได้รับไม่ครบ
ครุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐานและไม่ตรงกับความต้องการการเบิกจ่ายเงินล่าช้า และงานธุรการมีมากเกินไป
5) ปัญหาการบริหารงานอาคารสถานที่ ได้แก่
จำนวนห้องเรียนและห้องพิเศษไม่เพียงพอ
อาคารเรียนและห้องเรียนมีขนาดเล็กไม่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ห้องน้ำห้องส้วมไม่เพียงพอ
และไม่มีสนามกีฬา
6) ปัญหาการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่
ผู้ปกครองไม่สนใจการศึกษาของนักเรียน ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ
ผู้บริหารไม่มีเวลาอยู่โรงเรียน
และการติดต่อสื่อสารลำบากยุ่งยาก (งานวิจัยเรื่องนี้
แยกการบริหารอาคารสถานที่ออกจากการบริหารงานธุรการ งานบริหารการศึกษาจึงมี 6 ด้าน)
จากวิทยานิพนธ์ที่ศึกษางานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูตามภาคต่างๆ
คือ งานบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูในภาคใต้ ของ ธงชัย มาศสุพงศ์, ในภาคกลาง ของ
สุชาดา รัตนวิจิตร, ในกรุงเทพมหานคร ของ สัญญา สุรพันธุ์, ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของน้อย สุปิงคลัด พบว่า
ผู้บริหารในวิทยาลัยครูต่างๆค่อนข้างจะเห็นแตกต่างกัน ข้อที่ตรงกันคือ งานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
งานนี้ทำมากเป็นอันดับห้า ซึ่งเป็นอันดับที่น้อยที่สุดในจำนวนงานทั้งหลาย เกี่ยวกับงานวิชาการ –
ผู้บริหารวิทยาลัยครูค่อนข้างจะเห็นตรงกันอยู่มาก คือ
งานนี้ทำมากเป็นอันดับสาม
ส่วนอาจารย์ในวิทยาลัยครูต่างๆมีความเห็นตรงกันในสามอันดับแรก
คือผู้บริหารทำงานธุรการและการเงินมากเป็นอันดับหนึ่ง ทำงานกิจการนักศึกษามากเป็นอันดับสอง และทำงานวิชาการมากเป็นอันดับสาม
จากการวิจัยเรื่อง “งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษาทั้ง
12 เขต และกรุงเทพมหานคร” ของนิสิตภาควิชาบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า
งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้ง 12 เขต และกรุงเทพมหานคร
ให้ความสำคัญต่อการบริหารงานธุรการการเงินและบริการ เป็นอันดับที่หนึ่ง ถึง
6 เขต รองลงมาคือ การบริหารงานบุคคล
เป็นอันดับหนึ่ง 5 เขต การบริหารกิจการนักเรียนเป็นอันดับหนึ่ง
3 เขต ส่วนการบริหารงานวิชาการ
ไม่มีอันดับหนึ่งเลย
และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นอันดับห้าทั้ง 13 เขต จึงเห็นได้ว่า โรงเรียนมัธยมศึกษา 13 เขต
ให้ความสำคัญต่องานบริหารการศึกษาเรียงลำดับคือ
การบริหารงานธุรการ การเงิน และบริการ
การบริหารงานบุคคล
การบริหารกิจการนักเรียน
การบริหารงานวิชาการ
และการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
จากการวิจัยเรื่อง
“การใช้เวลาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา 11” ของ สมชาย
สุขชาตะ
นิสิตภาควิชาการบริหารการศึกษา
คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า
การใช้เวลาของผู้บริหารในการบริหารงานทั้ง 5 ด้าน
ตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ
งานบริหารด้านวิชาการ (26.81
%) งานบริหารด้านธุรการ
การเงินและอาคารสถานที่ (22.11%) งานบริหารบุคคล (21.67%) งานบริหารด้านกิจการนักเรียน
(15.74%) งานบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (13.66%)
จากการวิจัยเรื่อง
“งานบริหารการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในภาคใต้” ของ
เฉลิม แช่มช้อย พบว่า
ผู้บริหารการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูใหญ่มีความคิดเห็นว่า โรงเรียนได้ปฏิบัติงานในเกณฑ์มาก 3 ประเภท คือ
งานธุรการ การเงิน และบริการได้รับการปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาได้แก่ งานวิชาการ และงานบุคคล
ตามลำดับ ส่วนงานกิจการนักเรียนนั้นได้รับการปฏิบัติน้อย
และงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนได้รับการปฏิบัติน้อยที่สุด
จากการวิจัยเรื่อง “การปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา” ของ กนกพร ทองเจือ
พบว่า ในการบริหารการศึกษา 6 ด้าน
คือ งานวิชาการ, บุคลากร, งานธุรการและการเงิน, งานอาคารสถานที่, งานกิจการนักเรียน
และงานความสัมพันธ์กับชุมชน ครูมีความเห็นต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียน
โดยส่วนรวมทั้ง 6 ด้าน
อยู่ในระดับปานกลาง
ยกเว้นการปฏิบัติงานด้านธุรการและการเงินอยู่ในระดับมาก
จากตัวอย่างงานวิจัยทั้งหมดนี้ ในภาพรวมจะพบว่า การบริหารงานธุรการจะได้รับการปฏิบัติมากที่สุด ส่วนการบริหารด้านความสัมพันธ์กับชุมชนจะได้รับการปฏิบัติน้อยที่สุด อันที่จริงการบริหารการศึกษา เกี่ยวกับงานทั้ง
5 ด้านนี้ควรได้รับการปฏิบัติให้เท่าเทียมกัน เพราะการบริหารการศึกษา
เป็นการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การที่จะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้นั้น การบริหารงานวิชาการเป็นการจัดการเกี่ยวเรียนการสอน ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาคนให้มีความรู้ ความสามารถ
มีความคิดและเป็นคนดี หรือพัฒนาคนให้เป็นคนที่มีคุณภาพได้นั้น จะต้องมีการบริหารงานอีก 4 ด้านมาช่วยด้วย เช่น การบริหารงานธุรการ
คือจัดหาพัสดุครุภัณฑ์ จัดอาคารสถานที่
และอื่น ๆเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคล่องตัวขึ้น
การบริหารงานบุคคล ก็ต้องสรรหาครูที่มีคุณภาพมาสอน ต้องพัฒนาครูให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไป เพราะครูต้องมีคุณภาพ
จึงจะพัฒนาคนให้มีคุณภาพได้
ส่วนการบริหารกิจการนักเรียน
ก็คือการปกครองนักเรียนให้เป็นคนดีมีวินัย
การจัดกิจกรรมเสริมให้นักเรียน
มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดียิ่งขึ้น
สำหรับการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ก็มีส่วนช่วยพัฒนาคนเช่นกัน เช่น การให้นักเรียนฝึก งานในชุมชน การช่วยแก้ปัญหาในชุมชน
การเชิญบุคลากรมาให้ความรู้แก่นักเรียน
การประสานงานกับผู้ปกครองให้สนใจการศึกษาของนักเรียน เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการบริหารงานทั้ง 5 ด้านต้องสัมพันธ์กัน
ต้องดำเนินการไปพร้อมๆกันและเท่าเทียมกัน
การพัฒนาคนจึงจะมีคุณภาพ
No comments:
Post a Comment