แนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
กลุ่มพฤติกรรมนิยมมีผู้นำของกลุ่มคือ จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson, 1878 – 1958) เป็นผู้ที่มีความคิดค้านกับแนวคิดของกลุ่มโครงสร้างของจิตที่ศึกษาพฤติกรรม มนุษย์ด้วยวิธีการย้อนไปตรวจสอบตนเอง (introspection) เพราะเขาเห็นว่าวิธีการตรวจสอบตนเองค่อนข้างเกิดอคติได้ง่ายและยังไม่เป็น วิธีทางวิทยาศาสตร์ เพราะผลที่เกิดมักมีแนวโน้มที่เกิดจากเจตคติส่วนบุคคลไปในทางใดทางหนึ่งแล้ว แต่ความรู้สึกของผู้ศึกษาเอง จอห์น บี วัตสัน เห็นว่าควรใช้วิธีการที่ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ที่เห็นได้และเขาเป็นผู้เสนอให้ มีการศึกษา พฤติกรรมของมนุษย์ในด้านที่สังเกตและมองเห็นได้
จอห์น บี. วัตสัน
การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในแนวใหม่ของวัตสันจึงได้จัดเป็นวิธีการศึกษาใน ลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่กล่าวโดยสรุป แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นว่า พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีเหตุและสาเหตุนั้นอาจมาจากสิ่งเร้าในรูปใดก็ได้ที่ มากระทบกับอินทรีย์หรือร่างกาย จึงทำให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมจึงใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมด้วยวิธีการทดลอง และการสังเกตอย่างมีระบบ และสรุปว่าการวางเงื่อนไข (Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมและสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ พฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์เกิดได้จากการเรียนรู้มากกว่าเกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ และจากศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของสัตว์ที่ถูกทดลองสามารถช่วยให้เราเกิด ความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลได้ กลุ่มแนวคิดนี้ใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ด้วยวิธีการทดลองประกอบกับวิธี การสังเกตอย่างมีระบบแบบแผน นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมนี้ศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ดังนั้นกลุ่มนี้ จะไม่ยอมรับวิธีการศึกษาแบบสังเกตตนเองโดยกล่าวหาว่า การสังเกตตนเองไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไม่น่าเชื่อถือ แต่กลุ่มนี้มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ โดยเชื่อว่าเขาจะทราบถึงเรื่อราวของจิตก็โดยการศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออก เท่านั้น
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมได้อธิบายแนวคิดกลุ่มพฤติกรรมนิยมไว้ 3 ประการ คือ
1. การวางเงื่อนไข(Conditioning) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังการทดลองของ Pavlov และ Skinner เชื่อว่าสามารถใช้วิธีฝึกฝนอบรมที่เหมาะเพื่อฝึกเด็กให้มี พฤติกรรมตามที่เราปรารถนาได้ โดยใช้วิธีการวางเงื่อนไขกับเด็ก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมอันเป็นผลจากการเรียนรู้มากกว่าสัญชาติญาณ หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
2. พฤติกรรม พฤติกรรมของคนที่ปรากฏขึ้นส่วนมาก เกิดจากการเรียนรู้มากกว่าจะเป็นไปเองตาม ธรรมชาติ ( Behaviorism was its emphasis on Iearned rather than unlearned ) ดังการทดลองของ Watson โดยอินทรีย์ถูกวางเงื่อนไขให้แสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น การตอบสนองนี้อาจเกิดจากกลไกของสรีระ คือต่อมต่าง ๆ ประสาท กล้ามเนื้อ และพฤติกรรมอันสลับซับซ้อนของอินทรีย์นั้น เป็นผลรวมของปฏิกิริยาตอบสนองย่อย ๆ ที่เชื่อมโยงกันในรูปต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกจิตวิทยาเชิงเร้าและการตอบสนอง ( Stimulus Response Psychology )
3. การเรียนรู้ การเรียนรู้ของคนกับสัตว์ไม่ต่างกันมาก การทดลองกับสัตว์เป็นการง่ายกว่าที่จะทดลองกับคนสามารถเรียนรู้เรื่องของคน โดยการศึกษาจากสัตว์ได้เป็นอันมาก เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนได้จากการศึกษา พฤติกรรมของสัตว์ นักจิตวิทยากลุ่มนี้คือ เอดเวิด ธอร์นไดด์ ( Edward Thorndike ) และ คลาร์ก แอล ฮุลล์ ( Clark L. Hull ) จึงได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ขึ้นโดยอาศัยจากการ ทดลองกับสัตว์
เอดเวิด ธอร์นไดด์
เปรียบเทียบกับกลุ่ม Structuralism และ Functionalism เห็นว่า สองกลุ่มนั้นมุ่งศึกษาเฉพาะจิตที่รู้สึกนึกและเป็นการศึกษาจากภายใน ของสิ่งที่มีชีวิตออกมาข้างนอก ส่วนกลุ่ม Behaviorism มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ (Observable Behavior) เป็นการศึกษาจากภายนอกของสิ่งที่มีชีวิตเพื่อจะเข้าใจข้างใน โดยสองกลุ่มแรกใช้ระเบียบวิธีการสังเกตตนเอง ( Introspection method)ซึ่งเป็นวิธีการแบบอัตนัย (Subjective method) ส่วนกลุ่ม Behaviorism ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์(Scientific method)หรือระเบียบวิธีแบบอัตนัย(Objective method) มุ่งปรับปรุงเนื้อหาสำคัญของวิชาจิตวิทยาให้ได้มาตรฐานเดียวกันกับวิทยา ศาสตร์แขนงอื่นๆ ให้เห็นว่า “จิตวิทยาคือหมวดความรู้ที่ว่าด้วยพฤติกรรม“( Psychology as a science of behavior ) เพื่อให้เข้าใจง่ายและสรุปแนวทัศนะเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. กลุ่ม Behaviorism ปรับปรุงใหม่ทั้งด้านเนื้อหา ( Content of Subject matter ) ระเบียบวิธี ( Method ) เป็นวิทยาศาสตร์และเหมือนวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ
2. มุ่งศึกษาเฉพาะพฤติกรรมที่สังเกตได้หรือสามารถวัดได้(Observable or Measurable Behavior ) ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวกับกลไกทางสรีรวิทยา ( Physiological mechanisms ) เช่นการทำงานของต่อม ระบบประสาท กล้ามเนื้อ
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมแบ่งพฤติกรรมเป็น 2 ลักษณะ คือ พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายนอก ( Explicit movement ) เป็นพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นหรือวัดได้ เช่น การนั่ง นอน กิน เดิน เป็นต้นกับ พฤติกรรมที่มีการเคลื่อนไหวภายใน (Implicit movement) เป็นพฤติกรรมที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตานอกจากวัดด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม (Sensitive Instruments) เช่น การคิด การเกร็งของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การตื่นเต้นจนทำให้หัวใจเต้นแรง เป็นต้น
3. ยอมรับเฉพาะระเบียบวิธีแบบปรนัย ( Objective Method ) หรือระเบียบวิธีที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์แขนงอื่น ๆ ใช้กัน ไม่ยอมรับวิธีการสังเกตตนเอง ( Introspection Method ) หรือลักษณะวิธีอัตนัย ( Subjective Method ) ต้องการให้ระเบียบวิธีทางจิตวิทยา ( Psychology Method ) เป็นสากล
4. มุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมโดยเฉพาะ ต้องการให้วิชาจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ พฤติกรรม จึงมีการทดลองต่างๆเพื่อเทียบเคียงพฤติกรรมของมนุษย์ว่าที่บุคคลแสดง พฤติกรรมเช่นนี้เป็นเพราะเหตุผลใด
5. ยอมรับเฉพาะข้อมูล ( Data ) ที่ได้จากระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น นำเอาระเบียบวิธีการสังเกตพฤติกรรม ( Behavior method ) มาใช้เป็นสำคัญ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ผู้สังเกตจะต้องบันทึกเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง พบเห็นจริง ๆ เท่านั้น ไม่บันทึกความรู้สึกลงไปด้วย
กลุ่ม Behaviorism ประกอบด้วยกลุ่มย่อยๆ หลายกลุ่ม เช่น
1. กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจเรื่องสมอง (Cerebrology) กลุ่มนี้นำเอาความรู้ความเข้าใจในวิชาสรีรวิทยาใช้ในการอธิบายเรื่อง พฤติกรรม เชื่อว่าอวัยวะนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญและทำหน้าที่ในการแสดงพฤติกรรมได้แก่ สมอง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง
2. กลุ่มที่อาศัยความรู้ความเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาสะท้อน (Reflexology) มุ่งศึกษา พฤติกรรมง่าย ๆ และการแสดงปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เช่น การศึกษาเรื่องการเกิดปฏิกิริยาตอบ สนอง หรือการเกิดปฏิกิริยาสะท้อนแบบวางเงื่อนไข (Conditioned Response or Reflex)
การแสดงปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ย่อมต้องอาศัยสิ่งเร้า (Stimulus) ทำหน้าที่กระตุ้นให้สิ่งมีชีวิตแสดงปฏิกิริยาสะท้อนออกมา อินทรีย์ (Organism) อันมีประสาทสัมผัส (Receptor หรือ Sensory neurons) ทำหน้าที่รับการเร้าจากสิ่งเร้าแล้วรายงานไปยังประสาทส่วนกลาง ประสาทที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Effectors หรือ Motor neurons) ทำหน้าที่บงการหรือก่อให้เกิดการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า
สืบค้นโดย นายอนุวงศ์ อารีศิริไพศาล
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
แต่งบล๊อกโดย นายศรุต วัฒนกุลศิลปชัย
No comments:
Post a Comment